รายงานวิจัย เรื่องความสุขของอาจารย์




คลิกอ่านบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์

บทนำ

 

          ความสุข เป็นสุดยอดปรารถนาของมนุษย์ พุทธาสภิกขุ (2542)  “ความสุข” ของคนไทยเป็นเป้าหมายหลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2548 – 2551) ที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง เช่นเดียวกับแผนพัฒนาฉบับที่ 8 และ ฉบับที่ 9 ที่เสนอว่า ความสุขเริ่มจากระดับบุคคลก่อนและขยายกว้างไปยังครอบครัว ชุมชน และสถาบันต่าง ๆ และระดับประเทศตามลำดับ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2548)

          พระราชาธิบดี จิกเม ซิงเย วังชุก (Jigma Singye Wang Chuk) กษัตริย์แห่งประเทศภูฐาน ทรงริเริ่มแนวคิดการพัฒนาประเทศโดยให้ความสำคัญกับความสุขมากกว่าการให้ความสำคัญกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว  สำหรับในประเทศไทย นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้เสนอแนวคิด ความอยู่เย็นเป็นสุขของสังคมไทย ซึ่งรวมมิติทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและจิตใจไว้ด้วย โดยที่มุมมองทางเศรษฐกิจ เน้นไปที่มีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

อาจารย์ คือครูผู้สอนในระดับอุดมศึกษา หมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนผู้เรียน เกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน อาจารย์นับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์  การที่อาจารย์จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดีได้นั้น อาจารย์ต้องมีชีวิตที่มีความสุข ทั้งในด้านปัจจัยของการดำรงชีวิต และการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานและทำให้ทำงานอย่างมีความสุข  เพื่อให้เกิดแรงผลักดันในการที่จะทำงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 จากการศึกษาของ ศรีวรรณา  พูลสรรพสิทธิ์ และคณะ (2547)   พบว่า การเฝ้าระวังสุขภาพจิต และการแก้ปัญหาสุขภาพจิตสามารถทำให้ประชาชนมีความสุขเพิ่มขึ้น และความเครียดลดลงอย่างชัดเจน  ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาว่า ระดับความสุขของอาจารย์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซียเป็นอย่างไร เพื่อเฝ้าระวังสุขภาวะของอาจารย์  และนำผลจากการศึกษาวิจัยมาเป็นข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาความสุขของอาจารย์  ภายใต้ความเชื่อที่ว่า เมื่ออาจารย์มีความสุขแล้ว  ย่อมนำไปสู่การทำงานและบริการประชาชนในด้านการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ท้ายที่สุดแล้วก็จะนำมาซึ่งประชาชนที่มีคุณภาพ อันจะส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าและการพัฒนาประเทศต่อไป










วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย
สถาบันในเครือ
เป็นสถาบันด้านการศึกษาและมูลนิธิ ศ.ดร.นพ.กระแส ชนะวงศ์ ก่อตั้งขึั้น สำหรับบริการด้านการเรียน ทั้งระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา รวมไปถึงศูนย์ฝึกอบรม ด้านการศึกษา มูลนิธิหมอกระแส ชนะวงศ์และสถาบันกระแสภิวัฒน์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนแก่คนรุ่นหลัง